โลกดิจิทัล เต็มไปด้วยโอกาสและความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวเราเช่นกัน การเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในบทความนี้เราจะสอนคุณเกี่ยวกับทักษะการป้องกันตนเองในโลกดิจิทัล เพื่อให้คุณสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทันกับอันตรายที่อาจมีอยู่
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
Digital Safety คืออะไร?
Digital Safety หมายถึง ความรู้ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย และรู้เท่าทัน ช่วยให้เราสามารถป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่างๆ ในโลกดิจิทัล เช่น
- การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying) : การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการกลั่นแกล้ง รังแก หรือคุกคามผู้อื่น รูปแบบของการกลั่นแกล้งออนไลน์
- การหลอกลวง: การหลอกลวงทางการเงิน การขายสินค้าปลอม หรือการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น
- การด่าทอ / ประจาน (Flaming) : การใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูถูก เหยียดหยาม ใส่ร้าย ป้ายสีการโพสต์ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ เพื่อประจานผู้อื่น โพสต์ข้อความด่าทอในโซเชียลมีเดียแชร์รูปภาพที่น่าอับอายของผู้อื่น
- การกลั่นแกล้งทางอารมณ์ (Emotional Harassment) : พยายามทำให้ผู้อื่นรู้สึกอับอาย เสียใจ โกรธ หรือกลัว การคุกคาม ข่มขู่ หรือสร้างความหวาดกลัว เช่น การส่งข้อความข่มขู่, โพสต์ข้อความสร้างความเกลียดชัง
- เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม: เนื้อหาที่รุนแรง ลามกอนาจาร หรือผิดกฎหมาย
- การปลอมแปลงตัวตน (Impersonation): แอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เพื่อสร้างความเสียหาย ใช้บัญชีปลอมเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เช่น การสวมรอยเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์ หรือสร้างความเข้าใจผิด
- การติดตามคุกคาม (Stalking): ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้อื่นโดยไม่พึงประสงค์ คุกคามหรือข่มขู่ผู้อื่น เช่น ติดตามโพสต์บนโซเชียลมีเดียของผู้อื่น, ส่งข้อความติดต่อผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง, ผลกระทบของการกลั่นแกล้งออนไลน์
ผลกระทบหากไม่มีทักษะการป้องกันตนในโลกดิจิทัล
1. ความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล:
- ข้อมูลส่วนตัวอาจถูกขโมย นำไปใช้แอบอ้าง หรือขายต่อ
- ถูกติดตามความเคลื่อนไหว พฤติกรรม การใช้จ่าย
- ถูกคุกคามทางออนไลน์
2. ความเสี่ยงด้านการเงิน:
- ถูกหลอกลวงทางการเงิน สูญเสียเงินทอง
- บัญชีธนาคารถูกแฮ็ก เงินถูกโอนออก
- ถูกเรียกค่าไถ่ข้อมูล
3. ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต: เช็คด่วน! คุณอาจมีภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล
- ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์
- รู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า
- สูญเสียความมั่นใจ
4. ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์:
- ถูกแอบอ้าง นำไปสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
- เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน
- ถูกหลอกลวงทางออนไลน์
5. ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย:
- ถูกติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ ไวรัส
- อุปกรณ์ถูกแฮ็ก ข้อมูลถูกขโมย
- ถูกติดตามความเคลื่อนไหว
เสริมสร้างทักษะ Digital Safety
1. รักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลของคุณ เริ่มต้นด้วยการใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง และเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกเผยแพร่โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น การแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
2. การจับสัญญาณ และป้องกันตัวจากการกลั่นแกล้งออนไลน์
การกลั่นแกล้งออนไลน์เป็นปัญหาที่พบบ่อยในโลกดิจิทัล คุณควรระมัดระวังและรู้จักวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้ตัวคุณหรือผู้อื่นที่คุณรู้จักได้รับความเสียหายจากคำพูดหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม
โดยมีเทคนิคการจับสัญญาณว่ากำลังจะถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ ดังนี้
- เริ่มมีการคอมเมนต์ไปในทางดูถูก ล้อเลียน
- แชร์ หรือส่งภาพที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยมาให้
- สร้างข่าวลือ หรือโพสต์ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด
- มีการนำข้อมูลของเราไปแอบอ้าง ไม่ว่าจะเป็นชื่อ หรือรูปภาพ
3. แนวทางปฏิบัติเมื่อพบภัยคุกคาม
- ตั้งสติ แล้วพิจารณาอย่างรอบคอบ ว่ากำลังประสบกับสถานการณ์อะไรอยู่ มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วพิจารณาถึงความเสียหาย และแนวทางที่จะสามารถป้องกันหรือจัดการได้ต่อไป
- กดบล็อคบัญชีออนไลน์ที่กลั่นแกล้งเรา เพื่อเป็นการปิดกั้นบุคคลนั้นให้ไม่สามารถสร้างผลเสียกับบัญชีออนไลน์ของเราได้อีกต่อไป
- รายงานปัญหาเกี่ยวกับบัญชีที่กลั่นแกล้งเรา ให้ระบบดำเนินการต่อไป
- เก็บหลักฐานการกลั่นแกล้งทั้งหมด เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินคดี หรือใช้เป็นข้อมูลการแจ้งเตือนให้บุคคลรอบข้าง รวมไปถึงสังคมออนไลน์ที่อาจกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันได้ตื่นตัวและป้องกันได้
- แจ้งผู้ปกครอง ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ หากไม่มั่นใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป การปรึกษาผู้รู้ หรือผู้ใหญ่อาจช่วยแนะนำทางออกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
- แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามาจัดการกับภัยคุกคามนั้น
4. ระวังการหลอกลวง
การหลอกลวงเป็นเรื่องที่คุณควรระวัง ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงทางการเงิน การขายสินค้าปลอม หรือการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เพื่อป้องกันตนเอง คุณควรตรวจสอบและยืนยันข้อมูลก่อนที่จะตอบสนองหรือทำตามคำขอที่ถูกส่งมา ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวหรือเงินให้กับบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ
สรุป
การป้องกันตนเองในโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรใส่ใจ โดยรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ระมัดระวังการกลั่นแกล้งออนไลน์ และระวังการหลอกลวง เป็นทักษะที่คุณควรพัฒนา เพื่อให้คุณสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทันกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในโลกดิจิทัล
ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: https://www.think-digital.app/
อ้างอิง
- ไซเบอร์บูลลี่คืออะไร และจะยุติมันได้อย่างไร t.ly/40aXU
- คู่มือคนไทย GO Cyber https://www.thaipdf.com/2153-thai-cyber-go-handbook-youth-edition/