เช็คด่วน! คุณอาจมีภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล

เคยไหมที่บางวันไม่ค่อยมีสมาธิทำงาน ไม่ได้เหนื่อยล้าแต่เนือยเกินกว่าจะใช้ความคิดทำอะไร มีความอยากทำโน่นนี่แค่ก็ขี้เกียจคิด หยิบมือถือขึ้นมาดูโซเชียลเป็นเวลานาน ยิ่งดูก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ดูคนโน้นได้ไปเที่ยว ดูคนนี้ทำผลงานน่าชื่นชม แล้วของเราล่ะ?

ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล คืออะไร?

ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล หมายถึง ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของบุคคล ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการงาน หรือปัญหาทางสังคม ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล (Social Media Depression) เกิดจากการใช้งานโซเชียลมีเดียในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจากโซเชียลมีเดียไม่ใช่เรื่องหยิ่ง และควรรับรู้ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  • รู้สึกเศร้า หดหู่
  • รู้สึกไร้ค่า
  • เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
  • รู้สึกโดดเดี่ยว
  • รู้สึกวิตกกังวล
  • นอนหลับไม่สนิท
  • เบื่ออาหาร
  • ไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ

สาเหตุภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล

1. การเสพติดโซเชียลมีเดีย: 

ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไป เป็นพฤติกรรมตั้งต้นให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพกายจากการนั่ง หรือใช้งานอุปกรณ์ท่าเดิมเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าของร่างกาย โดยเฉพาะผลเสียต่อด้านสมาธิและการจดจ่อ จากการรับข้อมูลทางโซเชียลมากเกินไป ทำให้สมาธิอยู่กับเรื่องราวในโซเชียล เมื่อรวมกันแล้วอาการเสพติดโซเชียลจะทำให้เราเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

2. การเปรียบเทียบทางสังคม: 

ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมักโพสต์แต่ด้านดีของชีวิต ทำให้ผู้ใช้งานคนอื่นรู้สึกเปรียบเทียบตัวเอง ซึ่งการเปรียบเทียบนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพจิตใจ กำลังใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึงความเคารพในตนเอง กลุ่มความคิดและความรู้สึกเหล่านี้เป็นรากฐานของภาวะซึมเศร้า

3. การ FOMO (Fear of Missing Out):

เป็นสภาวะที่เรากลัวว่าจะพลาดโอกาสหรือประสบการณ์สำคัญ ทำให้เกิดพฤติกรรมการไล่ติดตามความเคลื่อนไหวทุกอย่างบนโลกออนไลน์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่การใช้เวลาบนโลกออนไลน์นานเกินไป เกิดอาการเสพติด และการเหนื่อยล้าทางจิตใจที่ต้องวิ่งตามกระแสตลอดเวลา สภาวะความกลัวที่จะพลาดข้อมูลนี้เองบ่อนทอนจิตใจให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

ผลกระทบจาก ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล

ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล เป็นที่กล่าวถึงกันมากขึ้นเมื่อเวลาเฉลี่ยการใช้งานโซเชียลมีเดียของคนทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น คนไทยเฉลี่ยนอยู่ที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน เวลามากขนาดนั้นที่ต้องอยู่ยนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือรับชมสื่อบันเทิง เป็นธรรมจะต้องมีผลสะท้อนกลับมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

นอกจากปัญหาร่างกายของการนั่งนานหรือก้มคอดูมือถือแล้ว เนื้อหาบนโลกโซเชียลก็ส่งผลกระทบต่อสุขาภาวะทางจิตใจเช่นเดียวกัน คงไม่ต้องบอกถึงผลกระทบช่วงที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด 19 พุ่งสูง หรือข่าวเหตุการสะเทือนขวัญต่าง ๆ การเผยแพร่ข่าวร้ายทั่วทุกช่องทาง ทั้งวัน ตลอดทั้งสัปดาห์ย่อมส่งผลให้เกิดความหดหู่ หวาดระแวงจนแทบไม่อยากรับข่าวลักษณะเดียวกันอีก

ในลักษณะเดียวกันการเสพข่าวหรือเนื้อหาที่แสดงถึง “ชีวิตที่ดี” ในหลากหลายมิติเป็นเวลานาน ก็อาจสะท้อนความรู้สึกไร้ค่า ด้อยค่ากับผู้รับชมได้เช่นเดียวกัน ความหดหู่ที่เกิดจากการรับชมเนื้อหาความสวยงามมากเกินไปอาจเป็นภัยเงียบที่ค่อยคืบคลานเข้ามาในจิตใจ และยากจะระวังมากกว่าข่าวน่าสลดที่เราหลีกเลี่ยงได้

ภาวะที่ยากหลีกเลี่ยง: ทำไมทุกคนดูมีความสนุกจัง  

ความจริงเราทุกคนต่างมีมิติชีวิตเป็นของตัวเอง แต่การเฝ้าดูมิติที่เรายกให้เป็น “ชีวิตที่ดี” ของผู้คนบนโลกออนไลน์สิ่งที่สะท้อนกลับมานอกจากความหวัง การเฝ้าฝัน แรงผลักดันอาจหมายถึงความอิจฉาและท้อแท้ ว่าเราคงอาจไม่มีวันเป็นได้แบบนั้น หรือทำไมทุกคนต่างมีชีวิตที่ดี ทำไมชีวิตเราถึงแย่นักฯลฯ 

ความหดหู่ซึมเศร้าเกิดขึ้นได้จากการเสพสื่อเหล่านี้เป็นเวลานาน ความภาคภูมิใจในตัวเองถูกกัดกร่อนได้หากการเสพสื่อนั้นขาดซึ่งมุมมอง ทัศนคติ ภูมิคุ้มกันที่ดีทางความคิด จริงอยู่ที่มุมมองต่างคนต่างความคิด แต่อย่างน้อยหากเราระลึกไว้เสมอว่าโลกที่เรารับชมอยู่นั้นเป็นโลกที่ปั้นแต่งได้ เป็นโลกที่ผู้คนมักเลือกจะแสดงส่วนที่ดีให้ผู้คนได้รับรู้ จึงไม่แปลกที่จะเห็นเรื่องราวที่ดูดีอยู่ตลอดเวลา

เทคนิคลดภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล 

1. ฉันกำลังรู้สึก…

หนึ่งเทคนิคที่อยากหยิบมานำเสนอในวันนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการเสพสื่อโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นสื่อที่ให้อารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร ขั้นตอนง่ายนิดเดียวครับ

2. เมื่อรับชมสื่อ 1 ชิ้นให้ลองหยุดถามตัวเองว่า คิดเห็นอย่างไร และรู้สึกอย่างไร

  • เลื่อนจอมาเจอข่าวอุบัติเหตุ หยุดแล้วตั้งคำถาม: คิดว่าทำไมคนประมาทจัง, คิดว่าคนประมาทต้องได้รับบทเรียน, รู้สึกเจ็บแทน, รู้สึกเห็นใจคนที่ประสบเหตุทุกฝ่าย, คิด… รู้สึก….
  • เลื่อนมาเจอคลิปนำเที่ยว หยุดแล้วตั้งคำถาม: คิดว่าที่นั่นสวยจัง, คิดว่าอยากไปสักครั้งในชีวิต, คิดว่าต้องเก็บเงินอย่างไรจึงจะได้ไป, คิดว่าฉันไม่มีวันได้ไปหรอก, รู้สึกอิจฉา, รู้สึกอยากไป, รู้สึกหดหู่,  คิด… รู้สึก….ฯลฯ

การหยุด และคิดคำนึงถึงความรู้สึกจริงๆ เป็นกระบวนการสั้นๆ ที่สะท้อนตัวเองก่อนความคิดและความรู้สึกนั้นจะถูกฝังรากลึกไปในจิตใจ มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด เพราะโดยธรรมชาติความคิดความรู้สึกเป็นกลไกอัตโนมัติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้ตัวอีกทีก็คิดและรู้สึกแบบนั้นไปแล้ว แต่เมื่อได้ลองหยุดจะทำให้เรามองเห็นก้อนอารมณ์ ก้อนความรู้สึกซึ่งบ่อยครั้งอาจเป็นความรู้สึกในแง่ลบที่เราไม่อยากรู้สึก หรือเป็นความคิดแง่ลบที่เราไม่อยากคิดแบบนั้น

เทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้งหรือทำตลอดเวลา แต่ถือว่าเป็นเหมือนยาแก้ปวดประจำบ้าน ในยามที่รู้สึกว่าการเสพสื่อโซเชียลเริ่มออกฤทธิ์เป็นพิษกับตัวเองก็หยิบมันขึ้นมาใช้ได้ครับ

3. Social Detox

อันนี้จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย เมื่อเราใช้เวลาบนโลกดิจิทัลซึ่งข้อมูลไหลทะลักท่วมท้นทันทีที่เปิด เพียงแค่วางลงหันไปใช้เวลากับสิ่งอื่นบ้างอาจจะช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าหรือความหดหู่ตกค้างจากออนไลน์ได้

โซเชียลดีทอกซ์ก็เหมือนกับแผนออกกำลังหาย หรือแผนจัดอาหารสุขภาพ นั่นคือขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคนว่าอยากจัดสรรเวลา บริหารความว่างของตนเองอย่างไร เพราะทุกวันนี้แม้ว่างเพียง 30 วินาทีเราก็มีแนวโน้มจะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเปิดดูแล้ว

โซเชียลดีทอกซ์ ยังมีประโยชน์อื่นนอกหรือจากการลดภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล เพราะการลดเวลาจากหน้าจอที่ภาพและเสียง วูบวาบอย่างรวดเร็วนั้น ช่วยลดความเมื่อยล้าของประสาทตาและสมองได้เป็นอย่างดี ยังไม่นับรวมว่าเมื่อหยุดใช้มือถือแล้วหันไปทำงานอดิเรกซึ่งช่วยให้เสริมสร้างสมาธิ และภาวะจดจ่อให้กลับมาแจ่มใสเหมือนเดิมได้อีกด้วย

สรุป

ภาวะซึมเศร้าจากโซเชียล (Social Media Depression) เป็นภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา การใช้งานโซเชียลมีเดียในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความผิดหวังและภาวะซึมเศร้าได้ การจัดการและป้องกันภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากโซเชียลมีเดียสามารถทำได้โดยการควบคุมการใช้งาน สร้างชีวิตที่ดีและสมดุล สร้างความต่อเนื่องในการสื่อสาร และพัฒนาทักษะในการจัดการอารมณ์

อ้างอิง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save