เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจ และเข้าอกเข้าใจผู้อื่นผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้ใหญ่ จากนิทาน การ์ตูน ภาพยนตร์ และกิจกรรมที่คุณครูพาทำในโรงเรียน แต่ในยุคนิวนอร์มอลที่พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องเพิ่มเวลางาน ยุคที่การเรียนต้องผ่านปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ๆ ผ่านหน้าจอ การเรียนรู้ที่จะเข้าอกเข้าใจ ผู้อื่นดูจะเลือนรางจางหายไปกับความวุ่นวายนี้
เรามีหลักสูตรที่ฝึกฝนกระบวนการคิดที่ชาญฉลาด เรามีหลักสูตรที่เร่งศักยภาพให้เด็ กๆ สร้างสรรค์ผลงานที่แข่งขันได้ในระดับโลก เรามีหลักสูตรที่ฝึกทักษะเทคโนโลยีให้นักเรียนของเราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในระหว่างนั้นเวลาว่างที่เด็ก ๆ เล่นสื่อโซเชียล ในระหว่างที่ข่าวดราม่ารายวันกำลังถาโถมทุกช่องทาง ใครอยู่กับพวกเขาหรือไม่ พวกเขากำลังคิด รู้สึก หรือมีมุมมองอย่างไร?
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
ทักษะการเห็นอกเห็นใจบนโลกดิจิทัล (Digital Empathy) คืออะไร?
ทักษะการเห็นอกเห็นใจบนโลกดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นการนำเอาทักษะทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) มาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจและรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นในโลกดิจิทัล ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ของผู้คน การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
อ่านบทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง
1. การรับรู้และเข้าใจอารมณ์ของผู้คน
ทักษะการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ของผู้คนบนโลกดิจิทัล เริ่มต้นด้วยการติดตามและสังเกตผู้คนในชุมชนออนไลน์ที่คุณสนใจ อ่านโพสต์ คอมเมนต์ หรือรีแท็กทวีตของพวกเขา เพื่อเข้าใจถึงความคิดเห็นและอารมณ์ที่พวกเขาแสดงออก
นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อวิเคราะห์และเข้าใจอารมณ์ของผู้คนบนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย หรือการใช้ AI ในการตรวจสอบและวิเคราะห์อารมณ์จากข้อความหรือภาพถ่าย
2. การจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
ทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการมี Digital Empathy ที่ดี เนื่องจากอารมณ์และพฤติกรรมของเราบนโลกดิจิทัลส่งผลต่อวิธีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอื่น
เพื่อจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดี คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้:
- รู้จักและเข้าใจความรู้สึกของตนเอง โดยการตั้งคำถามให้แก่ตนเอง เช่น “ทำไมฉันรู้สึกแบบนี้?” หรือ “ทำไมฉันต้องการทำแบบนี้?”
- ให้ความรู้สึกตนเองได้พักผ่อนและผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง การอ่านหนังสือ หรือการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
- พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจ เมื่อมีปัญหาหรือความรู้สึกไม่ดี เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะหรือการเข้าใจจากภายนอก
3. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพบนโลกดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการใช้คำพูดและภาษาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้คนเข้าใจและรับรู้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อคุณต้องการสื่อสารบนโลกดิจิทัล คุณสามารถทำตามแนวทางเหล่านี้:
- ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้คนเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย
- ใช้คำพูดที่สร้างความสุขและเชื่อมโยงกับผู้คน เช่น การใช้คำขอบคุณ การแสดงความสนใจ หรือการเป็นกำลังใจ
- ระมัดระวังถึงตัวเลือกคำพูด และใช้คำพูดที่ไม่ก่อให้เกิดความสับสนหรือขัดแย้ง
ทำไม่ต้อง Digital Empathy
เพราะสิ่งที่ขับเคลื่อนโลกกำลังเคลื่อนย้ายตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างการติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงการประกอบอาชีสร้างรายได้ผ่านโลกออนไลน์ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนโลกออนไลน์ตลอดเวลา แต่การสื่อสารบนโลกดิจิทัลก็มีข้อจำกักในตัวมันเอง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
- แม้จะติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง แต่การติดต่องานนอกเวลาอาจหมายถึงการรบกวน หรือติดต่อในช่วงเวลาส่วนตัวของผู้อื่นก็อาจหมายถึงการเสียมารยาทได้
- การสื่อสารด้วยข้อความ หากเรียบเรียงและใช้ภาษาไม่เหมาะสม อาจสร้างความเข้าใจผิดถึงขั้นบาดหมางได้ เพราะตัวอักษรไม่มีน้ำเสียง ไม่มีสีหน้า ไม่มีท่าทางหรือแววตาที่จะสื่อสารได้เหมือนกับการพูดคุยกันต่อหน้า
- สื่อโซเชียลมีผู้คนต่างความคิด ต่างมุมมอง ต่างลักษณะนิสัย และต่างสถานการณ์ในชีวิต การสื่อสารแลกเปลี่ยนจะเป็นไปอย่างไรหากไม่มีมุมมองเพื่อทำความเข้าใจผู้อื่น เพื่อการสื่อสารที่ราบรื่นหรืออย่างน้อยก็ไม่ก่อปัญหากวนใจจากความเข้าใจผิด
- ทุกวันนี้ค่านิยมการเป็นตัวของตัวเองถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่การสื่อสารเพื่อหาความร่วมมือก็สำคัญไม่แพ้กันหากต้องการจะร่วมมือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือรวมพลังขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ทักษะการทำความเข้าใจผู้อื่นจึงควรมีบทบาทมากขึ้นในการรับรู้ของกระแสหลัก หรือมีการฝึกฝนในระบบการศึกษา
จากประเด็นข้างต้นพอจะชี้ให้เห็นความสำคัญของ Digital Empathy หรือการเข้าอกเข้าใจบนโลกดิจิทัล แม้เรื่องนี้จะเป็นทักษะส่วนบุคคลที่ต้องผ่านประสบการณ์จริงจึงจะเกิดการเรียนรู็ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะฝึกฝนหรือปลูกฝังกันไม่ได้ จึงเป็นการดีกว่าที่เด็กๆ ที่มีทักษะการเข้าอกเข้าใจบนโลกดิจิทัลเพื่อที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้บนโลกออนไลน์
ทำไมต้องระบบการศึกษา
อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้น ยุคนิวนอร์มอลฉุดกระฉากเราทุกคนให้มาใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนที่จู่ ๆ ก็ได้เจอหน้าคุณครูและเพื่อน ๆ ผ่านจอโทรศัพท์ เวลาเรียนที่ไม่เพียงพอตามหลักสูตรอยู่แล้วกลับต้องด้อยประสิทธิ์ภาพลงไปอีกจากการเรียนออนไลน์ และคงไม่ต้องพูดถึงการฝึกฝนทักษะ Digital Empathy ที่มีความสำคัญเพียงเศษเสี้ยวเดียวเท่านั้น เทียบจากเนื้อหาที่มีในหนังสือ
สรุป
แต่ก็เพราะนักเรียนใช้เวลาอยู่ในระบบการศึกษาอย่างน้อยก็ 11 ปี (อนุบาล- ม.3) และโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยเพียงพอจะฝึกฝนทักษะให้พวกเขาพร้อมจะใช้ชีวิตอยู่ทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์ที่พวกเขาเข้าใจใช้อยู่แล้วเพียงแต่ยังไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับพวกเขาว่า มีแนวทางที่ช่วยให้พวกเขาใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีความสุข
แม้กระแสสังคมบนสื่อโซเชียลจะเปลี่ยนไปทุกวัน แต่หากภาคการศึกษาไม่ตั้งไข่พูดถึงเรื่องนี้ เด็กๆจะไม่มีวันรับรู้ถึงแนวทางที่ถูกที่ควร เหมือนถูกลอยแพให้ต้องประบสบพบเจอกับตัวเองผ่านประสบการณ์ตรงซึ่งไม่อาจรับประกันได้ว่าการตอบสนองนั้นจะส่งผลอย่างไรต่อพวกเขา
อาจถึงเวลาที่เราต้องพูดถึเรื่องนี้กันมากขึ้น มากกว่าช่วงเวลาใดๆ ที่ผ่านถึงตอนนี้อาจเรียกได้ว่าเราสายเกินมามากแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรสายเกินไป
อ้างอิง
- คู่มือคนไทย GO Cyber https://www.thaipdf.com/2153-thai-cyber-go-handbook-youth-edition/
- Digital Empathy ความเห็นอกเห็นใจในโลกออนไลน์ที่สร้างได้ t.ly/TuyqX