สื่อสารเพื่อร่วมมือ: ทักษะที่โลกกำลังโหยหา

ทุกวันนี้ความแตกต่างของบุคคลที่แสดงออกบนโลกออนไลน์ได้เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรุ้ความหลากหลายและยอมรับการอยู่ร่วมกัน แต่หากจะต้องประสานงานกันเพื่อปัญหาที่ใหญ่กว่าล่ะ? พวกเราพร้อมแค่ไหนกับการสื่อสารในประเด็นปัญหาใหญ่ ๆ หรือปัญหาละเอียดอ่อน? หรือหากเราจะต้องเตรียมตัวให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นคนของอนาคต เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรกับปัญหาของยุคนี้? ยุคที่ต้องการความร่วมมือยิ่งกว่ายุคใด ๆ

เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล


ทักษะการสื่อสารเพื่อร่วมมือ คืออะไร

ทักษะการสื่อสารเพื่อร่วมมือ (Collaborative Communication Skills) หมายถึง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้บุคคลสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

องค์ประกอบสำคัญของทักษะการสื่อสารเพื่อร่วมมือ:

  • การฟังอย่างตั้งใจ: ฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ขัดจังหวะ จดจำประเด็นสำคัญ และแสดงความสนใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • การพูดอย่างชัดเจน: พูดจาสุภาพ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย และใช้ภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟัง
  • การให้และรับ Feedback: เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ รับฟัง feedback ด้วยใจเปิด และนำไปปรับปรุง
  • การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์: เสนอแนะแนวคิดใหม่ ๆ
  • การเคารพความหลากหลาย: ยอมรับและเคารพความแตกต่างของผู้อื่น
  • การใช้เทคโนโลยี: ใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมเต้อง สื่อสารเพื่อร่วมมือ?

ปัญหาโลกร้อน, ความขัดแย้งทางความเชื่อ, ความขัดแย้งทางการเมือง, ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, ปัญหาขยะล้นเมือง, การจัดการที่ดิน, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, ปัญหาความอดอยาก, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาจราจร, ปัญหามลพิษ, ปัญหาความยากจน, ปัญหาเศรษฐกิจ, ปัญหาแรงงาน, ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว, ความอยุติธรรมด้านความหลากลายทางเพศ, ปัญหาโรคระบาด, สังคมผู้สูงอายุ, ความเหลื่อมล้ำของสวัสดิการพื้นฐาน, ปัญหาทุจริตฯลฯ

ข้างต้นเป็นตัวอย่างของหัวข้อปัญหาใหญ่ๆ ของยุคสมัยนี้ หลายปัญหาคงไม่อาจแก้ไขได้ในช่วงชีวิตของเราแต่หากจะไม่ทำอะไรเลยก็คงจะเห็นแก่ตัวมากทีเดียวที่ไม่เตรียมตัวให้เด็กๆ เรียยนรู้ที่จะรับเมือกับปัญหา โดยเฉพาะเรียนรู้ที่จะสื่อสารเพื่อการร่วมมือกันแก้ปัญหาเหล่านี้

ยุคแห่งความแตกต่าง

โลกดิจิทัลเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้แสดงความเป็นเอกลักษณ์ออกมาอย่างเต็มที่ แต่การทำงานในโลกที่เชื่อมต่อแบบไร้ขอบเขตนี้ ความขัดแย้งไม่สอดคล้อง ไม่ลงรอยกันย่อมเกิดขึ้น และแมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่การไม่ลงรอยกันของความคิดเห็นเท่านั้น แต่ยังขยายผลไปถึงความร่วมมือทางสังคมอีกด้วย

จึงเป็นการยากที่จะแนะนำแนวทางที่ถูกต้องที่สุดของปัญหา หรือวิธีการที่ดีที่สุดในการร่วมมือกัน เพราะสิ่งที่เรียกว่าความแตกต่างหลากหลายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีพลวัตซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วิธีการแก้ปัญหาหรือหาข้อตกลงในเรื่องหนึ่งอาจถูกต้องเฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น อีก 5 ปี 10 ปี หรืออาจแค่เพียงแค่ปีเดียววิธีการเดิมก็อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป และต้องเริ่มหาทางแก้ปัญหากันใหม่

แนวทางการศึกษายุคใหม่จึงได้คำตอบที่เห็นพ้องกันมากที่สุดคือการ “สอนให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะรับมือกับปัญหา” ประกอบไปด้วยชุดการฝึกฝนที่จะจัดการการเรียนรู้ของตัวเองตลอดชีวิต โดยเฉพาะการเสริมทักษะการสื่อสารเพื่อร่วมมือกับผู้อื่น

ยุคแห่งพวกฉัน-พวกเขา

ธรรมชาติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์มีการแบ่งพงศ์เผ่าเหล่ากอ แบ่งพรรคพวกกันมาแต่โบราณเพราะมันอยู่ในดีเอ็นเอของเราอยู่แล้ว แต่ก็เพราะความเป็นมนุษย์ในอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งสติปัญญาพาให้มองข้ามพวกมัน-พวกฉันแล้วรวมตัวกันสร้างอารยธรรมจนรุ่งเรือง ล่มสลายผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน

ยิ่งโลกดิจิทัลที่เป็นพื้นที่เปิด ใครจะสามารถสร้างโลก สร้างนิยามอะไรใหม่ๆ แบ่งย่อยความต่างให้ละเอียดเล็กลงได้ไม่รู้จบ คนๆหนึ่งเป็นพรรคพวกชอบกีฬาทีมนี้ ขณะเดียวกันก็เป็นพลเมืองของประเทศนี้ แต่สนใจอีกเรื่องหนึ่งฯลฯ ผลสะท้อนที่เราต่างรับรู้ได้คือเราต่างรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้นทั้งที่โลกอินเทอร์เน็ตเปิดโอกาสให้เราเข้ากลุ่มสังคมใดก็ได้บนโลกตลอดเวลา

ความแตกต่างหลากหลายแสดงให้เห็นโลกที่เปิดกว้าง เพื่อให้ทัศนคติและมุมมองเปิดกว้าง ขณะเดียวกันอีกด้านของเหรียญก็ผลักให้คนบางกลุ่มมุ่งเน้นที่จะสร้างความเป็นพวกฉัน-พวกมัน แบ่งกลุ่มจนลุกลามไปสู่ความขัดแย้ง  โลกที่ความหลากหลายสร้างสรรค์ส่งเสริมกันและกัน ไปพร้อม ๆ กับการก่อเกิดความขัดแย้ง นี่เองคงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาใส่ใจกับทักษะการหาความร่วมมือ ก่อนที่ความแตกต่างที่ให้ผลด้านลบจะขยายตัวไปมากกว่านี้

“ฉันสะดวกแบบนี้” วลีติดหูคำพูดติดปากที่สะท้อนค่านิยมความเป็นปัจเจคของยุคสมัยนี้ได้ดีที่สุด แต่จากปัญหาของโลกที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้ เราควรแพ๊คเกจเสริมเรื่องความเป็นพลเมืองโลก ความตระหนักปัญหาหรืออย่างน้อยที่สุดการยอมรับที่จะหาข้อตกลงร่วมกันเป็นพื้นฐาน

คนรุ่นใหม่ในเวลานี้ซึ่งกำลังเรียนรู้ที่จะแตกต่างเป็นตัวของตัวเอง พร้อมแล้วหรือยังที่จะเรียนรู้การร่วมมือ เรียนรู้ที่จะยอมถอยหรือหาข้อตกลงร่วมกัน คำถามสำคัญ ณ เวลานี้นอกจากการส่งต่อค่านิยมเรื่องการยอมรับความแตกต่างแล้ว เราส่งต่อทักษะการทำงานแบบร่วมมือกัน การสื่อสารเพื่อหาข้อตกลงให้กับเด็ก ๆ ต่อไปแล้วหรือยัง?

สรุป

ในยุคสมัยแห่งการเชื่อมต่อไร้พรมแดน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การศึกษา หรือความสัมพันธ์ส่วนตัว ทักษะการสื่อสารเพื่อร่วมมือ (Collaborative Communication Skills) กลายเป็นทักษะที่โลกกำลังโหยหา เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมต่อความสำเร็จ การฝึกฝนทักษะนี้ เพื่อะบรรลุเป้าหมายในชีวิต

ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: https://www.think-digital.app/ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save