Digital Life Balance: ทักษะที่จำเป็น ในโลกที่โซเชียลเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา

ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในสองโลก คือโลกความเป็นจริงและโลกดิจิทัล โลกความเป็นจริง คือโลกเราใช้ร่างกาย ในการขับเคลื่อนหน้าที่การงาน ในขณะที่โลกออนไลน์ เราใส่ชีวิตจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ความชอบ ความสนใจ ความคิดเห็น ความเป็นตัวเองลงไปในพื้นที่ออนไลน์

แม้ทุกวันนี้ ทุกอย่างจะยังดูปกติ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นตลอดไป อาจมีบางจังหวะที่เราเสียสมดุลให้กับโลกออนไลน์มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาที่เกินพอดีจนไม่เป็นอันทำอะไร หรือการเสียความรู้สึก หงุดหงิดจากบางสิ่งบางอย่างที่กระทบจิตใจจากโลกออนไลน์จนแสดงออกมาในโลกความจริง หรือกระทั่งภัยไซเบอร์จากมิจฉาชีพรูปแบบต่างๆ ที่สร้างความเสียหายจริงๆ

เราได้ยิน Work Life balance กันบ่อยๆ ว่าด้วยการจัดสมดุลชีวิตกับการทำงาน แต่ในยุคที่โลกดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต เราก็ควรจะมี Digital Life balance ด้วยเช่นกัน

สมดุลบนโลกออนไลน์-  Digital Life balance หรือสมดุลชีวิตบนโลกออนไลน์ ว่าด้วยแนวคิดโดยรวมของการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างเป็นสุข ครอบคลุมไปถึงการมีสมดุลระหว่างโลกจริงที่ลงตัวอีกด้วย แม้คำว่าสมดุลตีความได้กว้างและหลากหลายจนยากที่จะระบุได้ชัดเจน แต่ก็พอจะมีแนวทางชี้ให้เห็นประเด็นต่างๆ อยู่บ้างเช่น

  • การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล
  • การบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวบนโลกดิจิทัล
  • การรับมือกับภัยบนโลกดิจิทัล
  • รูปแบบความบันเทิงที่รับชม กับสุขภาพจิต
  • สุขภาพร่างกายกับการใช้เทคโนโลยี
  • ความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้าง

สมดุลของแต่ละคนไม่เท่ากัน- เพราะต่างคนต่างมีชีวิตและ Lifestyle เป็นของตัวเอง การสร้างสมดุลจึงเป็นเพียงแนวทางเพื่อชี้นำสู่ชีวิตที่ปกติสุขเท่านั้น ต่างคนต่างประสบกับภาวะทางลบจากโลกโซเชียลที่ต่างกัน  Digital Life balance จึงเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่เสนอความคิดถึงการจัดการชีวิตบนโลกดิจิทัลให้สมดุล

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ กว่าเราจะเข้าใจคำว่า Digital Life balance ได้นั้น เรามักจะตกอยู่ในสภาวะที่ไม่ค่อยสมดุลเสียก่อน เช่น รู้สึกว่าตัวเองไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกว่าความคิดจดจ่ออยู่กับข่าวดราม่าอยากจะเปิดโทรศัพท์ติดตามข่าวตลอดวเลา รู้สึกว่าตัวเองหงุดหงิดมา รู้สึกว่าใช้เวลาบนหน้าจอนานจนลืมเวลาฯลฯ 

ต้องอย่าลืมว่าเราใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่แปลกที่เราจะรับความคิด รับอารมณ์ที่ไม่ดีกลับมาสู่โลกความจริง หรือรับสิ่งดีๆ มากเสียจนเสพติด เหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อมันส่งผลกระทบ การหาสมดุลให้การใช้งานดิจิทัลจึงเป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ พิจารณากันเป็นกรณีตามแต่บุคคล

ค้นหาสมดุลของตนเอง- ต่อไปนี้เป็นแนวทางการพิจารณาประเด็นที่อาจช่วยให้บริหารจัดการชีวิตดิจิทัลได้ดีมากยิ่งขึ้น

  • ระยะเวลาที่ใช้งานสื่อโซเชียลต่อวัน (ชั่วโมง)
  • ประเภทของสื่อที่รับชม
  • ลักษณะของเนื้อหาสื่อที่รับชม
  • ผลกระทบต่อตนเอง จากสื่อโซเชียลที่รู้สึกได้
  • ผลกระทบต่อคนรอบข้าง จากสื่อโซเชียลที่รู้สึกได้

ประเด็นข้างต้นเป็นตัวอย่างในการพิจารณาการใช้งานโลกออนไลน์ของเรา เพื่อชี้ให้ชัดถึงเรื่องที่ต้องจัดการหรือการหาสมดุลให้กับชีวิตดิจิทัล บางคนอาจมีปัญหากับการเสพข่าวสลดหดหู่จนพาลมีภาวะซึมเศร้า ก็ควรที่จะลดการติดตามข่าวลักษณะนี้ เป็นต้น


ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร และมีอะไรบ้าง เรียนรู้ได้เลยที่นี่ 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล

เรียนรู้เรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่
– Website : www.think-digital.app
– Facebook : Think-Digital เรียนวิธีคิด ผ่านความฉลาดทางดิจิทัล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save