อยู่อย่างไรให้มีสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล

โลกโซเชียลสร้างภาวะการรับรู้แบบ นิรนาม หรือพูดง่ายๆว่า เพราะไม่ใครรู้ว่าฉันเป็นใคร ฉันจึงแสดงออกอย่างไรก็ได้ตามใจฉัน เราจึงพบเห็นคนที่พิมพ์อะไรก็ได้ตามใจ โดยไม่สนใจคนอื่นหรือที่เรียกว่า นักเลงคีย์บอร์ด สร้างความกวนใจให้กับผู้อ่าน แล้วเราจะ อยู่อย่างไรให้มีสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล

เพราะสังคมดิจิทัลก่อกวนง่ายเพียงนิ้วสัมผัส การรักษาสุขภาวะทางจิตใจจึงมีความสำคัญมากขึ้นไปอีกขั้น เพราะความหงุดหงิด วิตกกังวลที่ต้องรับมือกับคนที่ตั้งใจก่อกวนนั้น เป็นสถานการณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ ส่งผลต่อสมาธิในการเรียน ความสามารถจดจ่อในการทำงาน และการรับมือทางอารมณ์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย แต่จะให้ตัดขาดจากโลกดิจิทัลเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ เมื่อชีวิต เพื่อนฝูง และบางครั้งโลกของการทำงานนั้นก็อยู่บนโลกออนไลน์

วันนี้มาดูแนวทางการรับมือเพื่อสุขภาวะที่ดีของเรากันครับ

  • เจอตัวตึง ต้องดึงสติตัวเอง- ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับกันก่อนคือเราเปลี่ยนแปลงใครไม่ได้ แต่เราคงนิ่งเฉยไม่ได้เช่นกัน อย่างแรกเมื่อเจอตัวตึงสายเกรียนคือการตั้งสติ!!! ตั้งสติตัวเราเองก่อน อย่าเผลอไปเล่นเกมที่เรารู้แล้วว่าอีกฝ่ายตั้งใจกวนประสาท เมื่อหยุดความคิดตัวเองได้แล้ว การรับมือต่อไปจึงเป็นไปด้วยความรอบคอบ หรืออย่างน้อยก็ส่งผลกระทบต่อตัวเราน้อยลง
  • คิดถึงความยุ่งยากใจที่ไม่อยากพบเจอ– เมื่อตั้งสติได้แล้ว ก่อนลงมือกระทำอะไรต่อไปให้นึกถึงความยุ่งยากใจ ความวิตกกังวล ความรำคาญใจ ความหงุดหงิดต่อจากนั้น หรือหลังจากนั้นอีกหลายวัน พิจารณาว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดภาวะนั้นกับเราขึ้นในอนาคตเมื่อเลือกที่จะกระทำลงไปแล้ว หรือพิจารณาตัวเองอีกครั้งว่าการเอาชนะ(?) ในครั้งนี้ จะช่วยให้เราสบายใจขึ้นหรือไม่ ตอบสนองความต้องการของเราเกี่ยวกับเนื้อหาสื่อบนโลกโซเชียลนั้นๆหรือไม่ แต่ละทางเลือกคงขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ละบริบท ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรผลของการตอบโต้จะจับต้องได้หรือไม่ แต่ความยุ่งยากใจที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของจริงเสมอ
  • Safezone-  แนวทางที่ได้รับการแนะนำเสมอมาคือการหลีกเลี่ยงที่จะตอบโต้เกรียนคีย์บอร์ดเหล่านั้น เพราะการต่อความยาวสาวความยืดไม่เคยได้ผล นอกจากจะไม่ได้คำตอบจากเรื่องหนึ่ง แต่จะพาออกทะเล พากวนประสาทกันต่อไปเท่านั้น อีกแนวทางหนึ่งคือการรายงานปัญหาในระบบกับบัญชีโซเชียลนั้น

อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้น สุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัลที่ทุกคนต่างโหยหาคือ เราไม่ต้องเดือดร้อนหรือกังวลใจจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง การดึงสติตัวเอง การหลีกเลี่ยงที่จะตอบโต้ อาจเป็นแนวทางที่ดูสมเหตุสมผลในการรับมือกับเกรียนคีย์บอร์ดเหล่านี้

บางคนอาจคิดว่าแนวทางนี้เป็นการยอมแพ้และทำให้คนชอบก่อกวนได้ใจมากขึ้น แต่อยากให้ลองพิจารณาอีกทีว่าอีกฝ่ายจะชนะแบบนี้เท่ากับเราแพ้ตั้งแต่ต้นแล้วใช่หรือไม่? การหลบออกมาให้ผ่านไปอาจคุ้มค่าต่อสุขภาพจิตของเราก็เป็นได้นะครับ


ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร และมีอะไรบ้าง เรียนรู้ได้เลยที่นี่ 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล

เรียนรู้เรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่
– Website : www.think-digital.app
– Facebook : Think-Digital เรียนวิธีคิด ผ่านความฉลาดทางดิจิทัล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save