ทำไมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ถึงมีเบอร์โทรศัพท์ของเรา?
นั่นเป็นเพราะว่า ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นได้รั่วไหลไปแล้ว
แล้วจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเรากันล่ะ ?
เราจะทำอย่างไรในยุคที่ข้อมูลรั่วไหลอย่างนี้? วันนี้ชวนมาทบทวนวิธีการจัดการข้อมูลของเรา ให้ปลอดภัย หรืออย่างน้อยก็ในระดับที่ควบคุมได้ครับ
- ปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลให้เข้มงวด – ข้อมูลที่รั่วไหลไปแล้วคงได้แต่เตรียมตัวรับมือ ขณะเดียวกันเราสามารถป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลเพิ่มเติมได้ ด้วยการไม่เผยแพร่ข้อมูลถ้าไม่จำเป็น, เก็บรักษาและเปลี่ยนรหัสผ่านบัญชีต่าง ๆ, ตั้งค่าข้อมูลเป็นแบบส่วนตัวไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะ, ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- เมื่อได้รับการติดต่อจากคนไม่รู้จัก ให้สงสัยไว้ก่อน – มิจฉาชีพสามารถเข้าหาเราได้ทุกรูปแบบ เมื่อได้รับการติดต่อจากหน่วยงาน องค์กรไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน หรือหากไม่แน่ใจให้ตั้งสติ อย่าให้ข้อมูลใด ๆ จนกว่าจะตรวจสอบจนมั่นใจ
- ตรวจสอบ “ตัวเอง” บนโลกออนไลน์ – หมั่นตรวจสอบ หรือค้นหาชื่อตัวเองบนโลกออนไลน์ เพื่อดูว่ามีบุคคลอื่นแอบอ้างใช้ข้อมูลของเราไปใช้ทำกิจกรรมที่เราไม่ได้เป็นคนกระทำเองหรือไม่ หากตรวจพบให้รีบรายงานหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือรายงานปัญหาเข้าไปในระบบนั้น ๆ
โลกออนไลน์มีความสร้างสรรค์ไม่สิ้นสุด แต่ว่าก็เผยภัยอันตรายให้เห็นชัดเจนขึ้นทุกวัน เราไม่มีทางรู้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิฉาชีพหรือไม่ เราทำได้เพียงป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันเราก็ควรส่งเสียงร่วมไม้ลงมืออุดรอยรั่วเชิงโครงสร้าง เพื่อวางการป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้ยังคงเรื้อรังต่อไป
ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร และมีอะไรบ้าง เรียนรู้ได้เลยที่นี่ 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล
เรียนรู้เรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่
– Website : www.think-digital.app
– Facebook : Think-Digital เรียนวิธีคิด ผ่านความฉลาดทางดิจิทัล