เราเป็นในสิ่งที่เรารับ: สื่อโซเชียลที่กำลังปรับเปลี่ยนบุคคลิกของเราแบบไม่รู้ตัว

โลกทัศน์เราเปลี่ยนไปเมื่อโซเชียลเปิดพื้นที่ให้คนแตกต่างหลากหลายมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เราได้เห็นคนที่มีความคิด มุมมอง ทัศนคติทุกรูปแบบที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ เป็นแนวโน้มที่ดีที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจกันมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลไกของสื่อโซเชียลกลับถูกออกแบบมาเพื่อป้อนความสนใจ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ยิ่งเราสนใจความคิดเห็น สินค้า หรือสื่อแบบใด ระบบจะยิ่งปิดกั้นสื่ออื่น ๆ และสนองเฉพาะส่วนที่เราสนใจเท่านั้น

การปิดกั้น-ป้อนความต้องการนี้เองที่กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนบุคลิก ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติของเรา แทนที่โลกทัศน์ของเราจะกว้างมากขึ้นจากการรับรู้ความหลากหลาย แต่กลับคับแคบลงเพราะเราจะได้เห็นในส่วนที่เราต้องการที่จะเห็นเท่านั้น

เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล


สื่อดิจิทัล ส่งผลต่อ กระบวนการคิด ทัศนคติ และบุคลิก ของเราอย่างไร?

1. กระบวนการคิด

สื่อดิจิทัลมีผลต่อกระบวนการคิดของเราในหลายด้าน ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูล การคิดวิเคราะห์ จนถึงการตัดสินใจ ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลหลากหลายจากสื่อดิจิทัล เช่น ข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง ซึ่งส่งผลให้เกิดการรับรู้และมุมมองที่หลากหลายต่อโลกและตัวเอง ตัวอย่างเช่น

  • การรับรู้ข้อมูล: ผู้ใช้โซเชียลมีเดียเสพเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อของตัวเอง ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลที่แคบลง ส่งผลให้เกิดอคติ ความคิดสุดโต่ง ปิดกั้นความคิดเห็นที่แตกต่าง
  • การคิดวิเคราะห์: ผู้ใช้ YouTube ค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบวิธีการประกอบคอมพิวเตอร์ ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ ส่งผลให้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ กลั่นกรองข้อมูล
  • การตัดสินใจ: ผู้ใช้เว็บไซต์เปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ส่งผลต่อการตัดสินใจที่ชาญฉลาด ส่งผลให้ช่วยให้ตัดสินใจอย่างรอบคอบ เลือกสินค้าที่เหมาะสม

2. ทัศนคติ

สื่อดิจิทัลมีอิทธิพลต่อทัศนคติของเราในด้านต่างๆ ค่านิยมที่เราได้รับจากสื่อดิจิทัลส่งผลต่อความเชื่อ รูปแบบการใช้ชีวิต และความคิดของเรา เราได้รับมุมมองต่างๆ จากสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อทัศนคติและความคิดของเราต่อโลก ตัวอย่างเช่น

  • ค่านิยม: ผู้ใช้ TikTok ชื่นชอบ influencer ที่มีไลฟ์สไตล์หรูหรา ส่งผลต่อค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มุ่งเน้นวัตถุนิยม ความสำเร็จภายนอก
  • มุมมองต่อโลก: ผู้ใช้ Facebook ติดตามข่าวสารจากสำนักข่าวหลากหลาย ส่งผลต่อมุมมองต่อโลกที่กว้างขึ้น ส่งผลให้เข้าใจความหลากหลาย เปิดรับมุมมองที่แตกต่าง
  • การเปิดรับความคิดเห็น: ผู้ใช้ Twitter ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นสังคม ส่งผลต่อการเปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้ฝึกฝนการฟัง ฝึกการคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิด

3. บุคลิก

สื่อดิจิทัลมีบทบาทในการสร้างบุคลิกของเรา ผู้คนมักเลียนแบบพฤติกรรม ท่าทาง และการแต่งตัวของบุคคลที่ชื่นชอบบนสื่อดิจิทัล การเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับภาพลักษณ์ “สมบูรณ์แบบ” บนโลกออนไลน์ และการแสวงหาการยอมรับจากผู้อื่นในโลกออนไลน์ สื่อดิจิทัลช่วยให้เราเปิดรับความคิดเห็น มุมมองที่หลากหลาย และส่งผลต่อพฤติกรรมของเรา ตัวอย่างเช่น

  • การเลียนแบบ: ผู้ใช้ Instagram เลียนแบบการแต่งตัวของ influencer ที่ชื่นชอบ ส่งผลต่อบุคลิกที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไร้เอกลักษณ์
  • การเปรียบเทียบ: ผู้ใช้ Facebook เปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับผู้อื่น ส่งผลต่อความมั่นใจที่ต่ำลง ส่งผลให้เกิดความรู้สึกด้อยค่า อิจฉา รู้สึกไม่พอใจกับชีวิต
  • การยอมรับ: ผู้ใช้ YouTube แสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องความสนใจ ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้แสวงหาการยอมรับจากผู้อื่น ขาดความมั่นใจ

คำติดหู-พูดติดปาก

วลีฮิตติดปากเกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะยุคที่สื่อโซเชียลสามารถผลักดันให้คำบางคำกลายเป็นคำติดปากได้ในชั่วข้ามคืน เรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้หากมีอะไรที่เกิดเป็น “กระแส” แล้วใครคนหนึ่งที่มีบัญชีสื่อโซเชียลจะไม่รับรู้ถึงกระแสนั้น

ทุกวันนี้มุมมองกระแสสังคมพลิกกลับหน้ากลับหลังได้รายชั่วโมง คำพูด ความคิดเห็นของคนๆเดียวสร้างกระแสให้ทุกคนติดตาม โดยเฉพาะความนิยมหรือการยอมรับต่อข้อมูลนั้นๆ ยิ่งมีคนชื่นถูกจริตของผู้คนเมื่อไหร่ไม่นานมันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ของเราโดยทันที เรียกได้ว่าคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นจนแทบตามไม่ทันกันเลยทีเดียว

มุมมองติดตัว-ความคิดติดหัว

คำพูดติดปากอาจเป็นยอดภูเขาน้ำเข็งที่เรามองเห็นว่าสังคมเปลี่ยนไปรวดเร็วเพียงใด แต่สิ่งที่ส่งผลหลังจากนั้นคือมุมมองความคิดที่ติดอยู่กับเราโดยไม่รู้ตัว คงไม่ตรงไปตรงมานักหากจะเปรียบเทียบกับอดีตในเมื่อนาคตเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่การมองย้อนกลับไปก็ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า สื่อโซเชียลทำให้เราได้เห็นข่าวสารจากทุกโลก จนต้องออกปากว่า “ทำกันได้ขนาดนี้เลยเหรอ”

เราได้เห็นคนทำในสิ่งที่ขัดกันหลายๆอย่างที่เรารับรู้ว่ามันเกิดขึ้นจริงในอีกมุมหนึ่งของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมความเชื่อที่เราไม่นึกว่าจะมี ความเชื่อที่เราได้ยินแล้วต้องขมวดคิ้ว หรือการกระทำผิดกฎหมายที่ลากยาวสาวไส้แล้วต้องตะลึงกับเครือข่ายเหล่านั้น ฯลฯ 

สิ่งแปลกใหม่ที่ “ไม่น่าเชื่อ” ไม่ได้เป็นเพียงแค่สื่อที่เราเสพเพื่อสีสันประจำวันเท่านั้น ผลกระทบในทางลบอาจสะท้อนไปไกลหว่านั้น หากเยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นว่าผู้ใหญ่ทำอะไรก็ได้ถ้าไม่ถูกจับก็ไม่ผิด จะเกิดอะไรขึ้นหากทัศนคตินี้ค่อย ๆ ซึมลึกลงไปในทัศนคติผ่านข่าวดราม่าที่ถูกนำเสนอรายวัน เช่นนั้นแล้วเราจะกล่าวโทษเยาวขนได้หรือหากพวกเขาเลือกที่จะแสดงออกในแบบที่ผู้ใหญ่แสดงออก?

เรากำลังสร้างการรับรู้แบบไหนกัน?

เมื่อพิจารณาร่วมกันระหว่างกลไกของสื่อโซเชียลที่มักจะป้อนสื่อที่เราสนใจมาให้รับชมอยู่เสมอ กับสื่อดราม่ารายวันซึ่งยกระดับความแปลก และหลุดกรอบมากขึ้นทุกที ไม่แปลกหากเด็ก ๆ จะไม่ตั้งคำถามถึงสิ่งที่ทำได้หรือทำไม่ได้ แต่พวกเขาเลือกที่จะแอบทำ เพราะมีตัวอย่างผ่านสื่อแล้วว่าใครจะทำอะไรได้

เราในฐานะพลเมืองดิจิทัลที่เท่าทันกลไกของสื่อโซเชียล คงต้องกลับมาถามตัวเองกันใหม่ว่าเราอยากป้อนสื่ออะไรเข้าไปในระบบ อยากให้สื่อไหนอยู่ในการรับรู้ โลกเสรีบีบให้เราต้องสร้างสื่อน้ำดีเข้าไปเจือจางสื่อไม่พึงประสงค์ในกระแสธารของสื่อทั้งหมด

เราอยากได้ยินคำพูดติดปากจากเด็กๆแบบไหน เราอยากเห็นเด็กๆมีทัศนคติเป็นอย่างไร? หรือคำถามเฉพาะหน้ากว่านั้นคือเราเห็นว่าเรื่องนี้คำคัญเพียงพอจะเริ่มต้นทำอะไรหรือไม่? เป็นคำถามที่ต้องตอบไปด้วยกัน

ทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก

ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมคลิก: https://www.think-digital.app/ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save