จัดการข้อมูลส่วนตัว: ทักษะสามัญประจำบ้าน

เราได้รับการฝึกอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อมเรื่องการดูสุขภาพเบื้องต้นตั้งแต่เด็ก ทั้งในโรงเรียนและเห็นการปฏิบัติของผู้ใหญ่ มีแผลให้ล้างแผลทายาแล้วปิดแผล ปวดหัวตัวร้อนก็กินยาเช็ดตัว หรือควรรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องไปหาหมอ ทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องสามัญประจำบ้านที่ทุกคนมีร่วมกัน เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ เช่น กฎจราจร ,กฎหมายขั้นพื้นฐานฯ เพื่อให้เราใช้ดำเนินกิจวัตรได้อย่างปลอดภัย และปกติสุข

แต่สำหรับโลกดิจิทัลที่ภัยออนไลน์สามารถเข้าถึงตัวได้ทุกเมื่อ เรามีชุดความรู้สามัญประจำตัว ประจำบ้านแล้วหรือยัง? วันนี้เราจะมาดูแนวคิด “การจัดการข้อมูลส่วนตัว” ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานบนโลกดิจิทัลกันครับ

เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล


ข้อมูลส่วนตัว คืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว หมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม 

ตัวอย่างเช่น 

  • ชื่อ นามสกุล
  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ที่อยู่
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล
  • รูปถ่าย
  • ข้อมูลการเงิน
  • ข้อมูลสุขภาพ
  • ข้อมูลทางชีวภาพ
  • ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล

ความสำคัญของการจัดการข้อมูลส่วนตัว

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิต ข้อมูลส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญต่อชีวิตของเราอย่างมาก ข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บรวบรวมและนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย การจัดการข้อมูลส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การควบคุมข้อมูลส่วนตัวของเราเอง ตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่เราต้องการแชร์ ข้อมูลใดที่เราต้องการเก็บไว้เป็นส่วนตัว

  1. ปกป้องความเป็นส่วนตัว: ข้อมูลส่วนตัวของเราอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การถูกแอบอ้าง การถูกติดตาม การถูกเลือกปฏิบัติ การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยให้เราควบคุมข้อมูลของเราเอง ป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
  2. ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์: ข้อมูลส่วนตัวของเราอาจถูกขโมย นำไปใช้เพื่อหลอกลวง หรือใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
  3. สร้างความมั่นใจ: การจัดการข้อมูลส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจ ปลอดภัย ในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์
  4. ส่งเสริมเสรีภาพ: การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยให้เราควบคุมข้อมูลของเราเอง ตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่เราต้องการแชร์ ข้อมูลใดที่เราต้องการเก็บไว้เป็นส่วนตัว ส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมบนโลกออนไลน์

ตัวอย่างสถานการณ์ที่แสดงถึงความสำคัญของการจัดการข้อมูลส่วนตัว

  • การสมัครงาน: บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยให้เราควบคุมข้อมูลของเรา ตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่เราต้องการให้บริษัททราบ
  • การใช้บริการธนาคาร: ธนาคารเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น เลขบัญชี ข้อมูลการเงิน การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยให้เราควบคุมข้อมูลของเรา ป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูล
  • การใช้บริการทางการแพทย์: โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น ประวัติการรักษา ข้อมูลสุขภาพ การจัดการข้อมูลส่วนตัวช่วยให้เราควบคุมข้อมูลของเรา ป้องกันการถูกเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

ฝากข้อมูลไว้กับใครบ้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเด็กวัยเพิ่งเข้าโรงเรียนหรือผู้สูงอายุ หนึ่งคนจะมีอย่างน้อย 1 บัญชีออนไลน์ และการสมัครใช้บัญชีออนไลน์นั้นจำต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อ “แลก” กับการใช้บริการฟรีของระบบ ฉะนั้นยิ่งมีบัญชีออนไลน์มากก็หมายถึงต้องให้ข้อมูลกับเจ้าของระบบมากขึ้นด้วย

หากมีบัญชีไม่มากก็อาจจะบริหารจัดการได้ แต่หากมีบัญชีจำนวนมากเช่น โซเชียลมีเดียเฟซบุ๊ค, อินสตราแกรม, ไลน์, ติ๊กต็อก หรือบัญชีใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปจนถึงบัญชีธุรกรรมทางการเงินฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่ให้ไปเปรียบได้กับการ “ฝาก” เอาไว้นั้นเราอาจหลงลืมรหัส หรือในกรณีที่ผิดพลาดคือข้อมูลรั่วไหลจากการโพสต์ของเราเอง หรือจากมิจฉาชีพก็ตามที เราควรรู้ว่าเราฝากข้อมูลส่วนตัวของเราไว้กับใครบ้าง

ตัวอย่างเช่นหากมีกรณีข้อมูลเบอร์โทรศัพท์รั่วไหลแล้วเราได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ การจะตามรอยนั้นควรเริ่มจากว่าเราฝากข้อมูลไว้กับใคร หรือในทางกลับกันหากมีการส่งข้อมูลมาให้เรา เราควรแน่ใจว่าเราได้ทำธุรกรรมกับบริษัทดังกล่าวหรือไม่ หากเราไม่ทราบว่าเราให้ข้อมูลใครไปบ้าง การตามรอยหรือการป้องกันตัวของเราจะหละหลวม ง่ายต่อการถูกหลอกให้เชื่อว่าเรา “สมัครบริการ” ทั้งๆที่ความจริงเราอาจกำลังถูกหลอกจากการนำข้อมูลที่รั่วไหลมาอ้างอิงกับเรา

การตรวจว่าเราให้ข้อมูลไปกับใครบ้างเริ่มต้นง่ายๆ เพียงการเปิดโทรศัพท์แล้วดูว่ามีแอปพลิเคชันไหนบ้างที่เราต้องให้ข้อมูลเพื่อสมัครใช้งาน รวมถึงเพื่อนในแอปพลิเคชันไลน์หรือเฟซบุ๊คที่เรากดติดตาม เพื่อเป็นการประเมินว่าหากวันหนึ่งได้รับข้อความแปลกๆ เราจะรู้ได้ทันทีว่าเราเคยสมัครหรือไม่


จัดการข้อมูลส่วนตัว

เทคนิคการจัดการข้อมูลส่วนตัวขึ้นกับวิถีชีวิตของแต่ละคน ตามบริบทของแต่ละครอบครัว อย่างไรก็ตามแนวทางแนะนำก็ยังสามารถปรับใช้ได้เพื่อความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น

  • ตั้งรหัสให้ปลอดภัย และเปลี่ยนรหัสทุก2-3 เดือน
  • ตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวแบบปิด
  • ตั้งสติก่อนโพสต์ ตรวจสอบว่าเปิดเผยข้อมูลมากเกินไปหรือไม่
  • เมื่อสมัครบริการ ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้ข้อมูลให้ดีก่อนกดยอมรับ
  • ตรวจสอบ “ชื่อ-นามสกุล” ของตนเองในอินเทอร์เน็ตว่ามีการแอบอ้างนำข้อมูลเราไปใช้หรือไม่
  • ตั้งสติเมื่อต้องให้-รับข้อมูลกับใคร

ทักษะเหล่านี้ควรเป็นพื้นฐานของการเข้าใช้งานโลกดิจิทัลเช่นเดียวกับกฎจราจรเมื่อเราต้องเดินทาง หรืออาจจะต้องระมัดระวังมากกว่าเพราะโลกดิจิทัลจับจ้องและเก็บบันทึกทุกการกระทำของเราทุกอย่าง แม้เพียงคลิกเดียว นิ้วสัมผัสหนึ่งครั้งก็ถือเป็นข้อมูลบนโลกดิจิทัล


ชวนเท่าทันสื่อกันทั้งบ้าน

ทักษะพื้นฐานใหม่ที่กำลังส่งเสริมให้มีมากขึ้นคือการเท่าทันสื่อ เพราะทุกวันนี้ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างสื่อได้ ไม่มีใครตรวจสอบหรือคัดกรอง ทุกเนื้อหาที่ไหลทะลักอยู่บนโลกออนไลน์ในทุกวินาทีนั้นมีเนื้อหาทุกรูปแบบ ตั้งแต่ความสนุกเล็กน้อยไปจนถึงการระบายอารมณ์ ตั้งแต่การสร้างอารมณ์ขันไปจนถึงการตั้งใจหลอกลวง และอาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในคนหมู่มากของสังคม การเสพสื่อจึงต้องคิดหรือตั้งสติ ตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนที่จะเลือกเชื่ออะไร

ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงภาพรวมของทักษะการใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลที่มีความจำเป็นมากขึ้นทุกวัน ยิ่งเทคโนโลยีมีบทบาทเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากขึ้น การเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุควรมีติดตัวไว้สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง ไปจนถึงการปฐมพยาบาลเมื่อเกิดปัญหาบนโลกดิจิทัลได้

ทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก

ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมคลิก: https://www.think-digital.app/ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save