ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสื่อโซเชียล การสื่อสารบนโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรถูกละเลย ความสามารถในการสื่อสารบนโลกดิจิทัลที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนและองค์กรในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะสอนทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลและวิธีการใช้การสื่อสารในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสารของเราและผู้อื่น
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัล Digital Communication คืออะไร?
ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัล Digital Communication หมายถึง การสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น อีเมล โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ แชท ฯลฯ ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน การสื่อสารบนโลกดิจิทัลมีประโยชน์มากมาย เช่น การเชื่อมต่อกับผู้คนจากทุกมุมโลก การแบ่งปันข้อมูลและความรู้ การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ในการสื่อสารของเราและผู้อื่น
การสื่อสารบนโลกดิจิทัลต้องใช้ทักษะที่แตกต่างจากการสื่อสารแบบดั้งเดิม เนื่องจากการสื่อสารบนโลกดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีและสื่อโซเชียล ทักษะที่สำคัญประกอบไปด้วยการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความไว้วางใจ และการเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ทำไมทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลถึงสำคัญ?
ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลสำคัญเพราะเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลได้เปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารของเรา การใช้ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลที่ดีจะช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อกับผู้คนและองค์กรในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การเข้าถึง: ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้คนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำกัดพื้นที่หรือเวลา
- ความสะดวก: ช่วยให้การสื่อสารรวดเร็ว ประหยัดเวลา และสะดวก
- ประสิทธิภาพ: ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ แบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ได้รวดเร็ว
- โอกาส: ช่วยให้เข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงาน การศึกษา การค้าขาย และการสร้างเครือข่าย
- ความสัมพันธ์: ช่วยให้สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
องค์ประกอบสำคัญของ Digital Communication:
1. การรู้จักเครื่องมือดิจิทัล:
เข้าใจวิธีใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เช่น อีเมล โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ แชท ฯลฯ โดยเฉพาะคุณลักษณะสำคัญของแต่ละเครื่องมือว่ามีข้อดี และข้อจำกัดอย่างไร และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อการสื่อสาร
2. เข้าใจเรื่อง รอยเท้าดิจิทัล Digital Footprint:
ร่องรอยการใช้งานบนโลกออนไลน์ เปรียบเสมือนรอยเท้าที่เราทิ้งไว้ทุกครั้งที่ใช้อินเทอร์เน็ต เช่นข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รูปภาพ ฯลฯ กิจกรรมออนไลน์อย่างการ โพสต์ แชร์ คอมเมนต์ กดไลค์ ประวัติการค้นหา การโต้ตอบออนไลน์ผ่านข้อความส่วนตัว การสนทนาในกลุ่ม รวมถึงการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งจะถูกบันทึกประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ คุกกี้ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ รอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint)
3. การสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ:
วิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้อง และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ก่อนเลือกที่จะตอบโต้หรือสื่อสารอย่างเหมาะสมตามบริบทของการสื่อสาร
4. การรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์:
เข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว โดยเลือกที่จะไม่ทิ้งร่องรอยในพื้นที่เสี่ยงเช่น เว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่ออนไลน์ที่เสี่ยงต่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ตัวอย่างการนำ Digital Communication ไปใช้:
1. การเชื่อมและรักษาความสัมพันธ์:
การติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ เป็นบริบทที่เราได้ใช้งานในชีวิตประจำวันซึ่งหากได้รับการพัฒนาจะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้น
2. การทำงาน:
การทำงานจากระยะไกล ประชุมออนไลน์ แบ่งปันข้อมูล ฯลฯ กลายเป็นเรื่องปกติจึงเป็นบริบทที่ได้นำทักษะมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะการทำงานจำเป็นจะต้องสื่อสารให้เข้าใจกันมากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความผิดพลาด
3. การศึกษา:
การเรียนออนไลน์ ค้นคว้าข้อมูล ทำงานกลุ่ม ฯลฯ เป็นบริบทที่เราได้ใช้งานของผู้ที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนรู้ รวมไปถึงเป็นการฝึกฝนเพื่อนำเอาทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต
4. การค้าขาย:
การโปรโมทสินค้า ขายสินค้า บริการลูกค้า ฯลฯ ถือได้ว่าเป็นบริบทที่เราได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการขายนอกจากการสื่อสารให้เข้าใจว่ากำลังนำเสนอสิ่งใดแล้ว ยังต้อใช้การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวหรือจูงใจให้ผู้รับสารมีความต้องการอยากใช้สินค้าและบริการอีกด้วย
5. การสร้างเครือข่าย:
การเชื่อมต่อกับผู้คน แลกเปลี่ยนความรู้ หาโอกาสใหม่ ๆ ฯลฯ เป็นบริบทที่เราได้ใช้งานในลักษณะที่ต้องแสดงถึงความต้องการไปพร้อมๆ กับการแสดงจุดยืนของมุมมอง ซึ่งในบางกลุ่มคนหรือชุมชน การแสดงออกถึงมุมมอง ทัศนคติ จำต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่รอบคอบและระมัดระวังอย่างอยิ่ง
เทคนิค และการฝึกฝนทักษะ Digital Communication:
การสื่อสารบนโลกดิจิทัลมีหลายเทคนิคที่สามารถใช้ได้ เช่น การใช้สื่อโซเชียลในการสื่อสารกับผู้คน การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้อีเมล การสื่อสารผ่านแชทหรือการสื่อสารผ่านวิดีโอคอล การใช้ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่เหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารบนโลกดิจิทัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- เรียนรู้การใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ: ติดตามข่าวสารหรือทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เท่าทันและเป็นการเรียนรู้ที่จะเลือกใช้งานเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ: สื่อดิจิทัลยังคงต้องอาศัยทักษะการเขียนซึ่งการเขียนสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลนั้นมีความเฉพาะเจาะจงตามช่องทาง กลุ่มผู้รับสาร และบริบทของผู้สื่อสาร การฝึกฝนการเขียนจึงช่วยฝึกฝนทักษะการสื่อสารทางดิจิทัลได้
- ฝึกอ่านอย่างมีวิจารณญาณ: การอ่านก็เป็นแนวทางการเรียนรู้และฝึกฝนเช่นเดียวกัน แต่เป็นการอ่านผ่านการเลือกสื่ออย่างมีวิจารณญาณ และอ่านอย่าวคิดวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มพูนข้อมูลที่สำคัญและมีคุณภาพไว้ใช้ในการสื่อสาร
- ฝึกสื่อสารอย่างมีมารยาท: นอกจากคุณภาพของข้อมูลที่สื่อสารแล้ว คุณลักษณะที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือมารยาท รวมถึงจังหวะในการเลือกที่จะสื่อสาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่ดี
- เรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์: ภัยคุกคามบนโลกดิจิทัลมีอยู่ทุกช่องทางเสมอ การสื่อสารบางเรื่องหรือบางข้อมูล อาจจำเป็นต้องเลือกสื่อสารอย่างระมัดระวัง
ประโยชน์ของการมีทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัล
การสื่อสารบนโลกดิจิทัลมีประโยชน์มากมาย เช่น การเชื่อมต่อกับผู้คนจากทุกมุมโลก การแบ่งปันข้อมูลและความรู้ การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ และการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพื่อเติมเต็มประสบการณ์ในการสื่อสารของเราและผู้อื่น
สรุป
การสื่อสารบนโลกดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับผู้คนและองค์กรในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการสื่อสารบนโลกดิจิทัลมีความหลากหลาย เช่น การใช้เทคโนโลยีและสื่อโซเชียลให้เกิดประโยชน์ การใช้เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม และการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารบนโลกดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสารของเราและผู้อื่น
ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่: https://www.think-digital.app/
อ้างอิง
- 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4673/
- คู่มือคนไทย GO Cyber https://www.thaipdf.com/2153-thai-cyber-go-handbook-youth-edition/