เคยไหมที่เรากำลังทำอะไรสักอย่างด้วยสมาธิคงที่ ยาวนาน ทำสิ่งนั้นจนลืมเวลาและไม่รู้สึกเหนื่อย หรือทำได้อย่างเพลิดเพลินไม่รู้สึกเบื่อ รู้ตัวอีกทีเวลาก็ผ่านไปนาน หรือสร้างผลงานได้คืบหน้าอย่างเหลือเชื่อ? เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะลื่นไหลหรือในภาษาอังกฤษคือ Flow ที่แปลว่ากระแส หรือการไหล
ภาวะนี้ใช้อธิบายสภาวะที่ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ความรู้สึก และความคิดทำงานสอดประสานกันอย่างลงตัว ลื่นไหลไม่มีสะดุด เป็นห้วงเวลาของสมาธิอันยาวนานในการจดจ่อทำสิ่งใดสิ่งขึ้น ประสบการณ์ของคนทั่วไปมักเกิดขึ้นตอนทำงานที่ตนเองเชี่ยวชาญหรืองานอดิเรกที่ตนชื่นชอบ
ได้มีการศึกษาและถอดองค์ประกอบในการเกิดสภาวะลื่นไหลนี้โดยสรุปคือสิ่งที่กำลังกระทำต้องอยู่ในสมดุลระหว่างความท้าทายกับความน่าเบื่อ หมายความว่าเป็นงานหรือกิจกรรมที่ไม่ง่ายจนเกินไป และท้าทายกำลังดีไม่ยากจนท้อใจ ซึ่งแตกต่างกันไปตามบุคคล
แม้สภาวะนี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน กับทุกกิจกรรมที่ทำมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ทว่าในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลนยีดิจิทัลและสื่อโซเชียลเข้ามามีบทบาทในการดึงความสนใจ และหันเหสมาธิได้ง่าย สภาวะลื่นไหลที่หลายคนต้องการจึงลดน้อยถอยลงตามไปด้วย
- ข่าวสารท่วมท้น – เป็นเรื่องย้อนแย้งเมื่อการทำงานปัจจุบันเร่งให้เรามีประสิทธิภาพในทุกๆด้าน เราทุกคนจำเป็นจะต้องดึงศักยภพาออกมาให้มากที่สุด และหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพคือการมีสภาวะลื่นไหลในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
แต่เมื่อเรายิ่งเค้นสมองให้ทำงานมันยิ่งต้องการการพักผ่อน แต่สิ่งที่เราหยิบยื่นให้กลับเป็นข่าวสารท่วมท้นล้นทะลักบนโลกโซเชียลที่มอบความสุขชั่วคราวให้กับสมองและทิ้งสิ่งตกค้างไว้จำนวนมาก ข้อมูลที่เราเสพแบบรวดเร็วนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญในการบั่นทอนสมาธิอันเป็นรากฐานของสภาวะลื่นไหลของเรา
อยากทำงานได้ดี แต่เครียดจึงเสพโซเชียลเพื่อผ่อนคลาย แล้วก็กลับมาเครียดเพราะไม่มีสมาธิทำงาน เป็นวงจรอันตรายที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติใหม่ ที่กว่าจะรู้ตัวเราก็มีอาการเสพติดดิจิทัลไปเสียแล้ว ทิ้งห่างความลื่นไหลในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย
- สมองแบ่งความสนใจ – เมื่อเรารับชมสื่อใดๆ ก็ตามแม้เราจะเลื่อนจอปัดผ่านไปแล้ว สมองยังคงทำงานกับสารเหล่านั้นอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว การปัดหน้าจอรับข้อมูลจำนวนมาก เท่ากับการสะสมข้าวของไว้ในพื้นที่สมอง จนเมื่อเวลาว่างหรือยามนอนหลับสมองก็ยังคงทำงานหนักเพื่อสะสางข้อมูลที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออกไป
พื้นที่ที่เราสะสมข้อมูลไว้นั้น มีผลต่อการเบียดบังพื้นที่สำหรับความคิดที่เราใช้ในการทำงาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามันรบกวนสมาธิ ลดความสามารถในการจดจ่อของเรานั่นเอง ยิ่งข่าวสารข้อมูลที่ส่งผลกระทบไปถึงอารมณืความรู้สึก และเรามีความรู้สึกร่วมมากเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะจดจ่อได้นานก็จะน้อยลงเท่านั้น
อยากจะชวนลองพิจารณาการจดจ่อของตัวเองกันดูครับ ว่าวันที่เล่นโซเชียลน้อย กับวันที่เล่นโซเชียลเยอะมีความแตกต่างกันอย่างไร แต่หากไม่ได้เล่นโซเชียลแล้วคิดถึงการเปิดมือถือมาปัดจอดูข่าว หรือหงุดหงิดแล้วล่ะก็ นั่นหมายถึงอาการเสพติดดิจิทัลซึ่งเราจะกล่าวถึงในบทความอื่นต่อไปครับ
พาความลื่นไหล กลับคืนมา– ความลื่นไหลของการทำงานเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลายส่วน โดยหลักแล้วอยู่ที่ตัวบุคคลขึ้นมีความเป็นปัจเจค แต่โดยหลักแล้วการสร้างสภาะวลื่นไหลให้เกิดขึ้นนั้นจะอยู่ที่การตัดสิ่งรบกวนออกไปจากทุกๆองค์ประกอบ ตัวอย่างเช่น
- จัดการสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อส่งเสริมสมาธิการทำงาน ตั้งแต่ แสงสว่าง อุณหภูมิ เสียงรบกวน ความรกของโต๊ะทำงานฯลฯ
- จัดระบบงานของตวเอง ยิ่งงานเยอะยิ่งต้องจัดระบบ ซึ่งช่วยจำกัดความคิดให้เราจดจ่อได้เฉพาะกับงานตรงหน้า ที่ผ่านการลำดับความสำคัญมาแล้ว ลดความห่วงหน้าพะวงหลังกับงานอื่นๆ
- Digital Detox หรืองานลดเวลาบนโลกโซเชียล หลักแล้วคือการลดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากสมองที่อาจมารบกวนสมาธิของเรา
อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น ยุคนี้เป็นเป็นยุคที่ทุกต้องต้องเค้นศักยภาพของตนเองออกมาให้มากที่สุด และสภาวะชื่นไหลในการทำงานเป็นสิ่งที่ทุกคนโหยหา แต่อุปสรรคสำคัญที่มากับพฤติกรรมย้อนแย้งนั้น ทำให้เรายิ่งห่างไกลกับสภาวะลื่นไหลมากขึ้น Digital Detox จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยดึงสภาวะที่เราทำงานเก่งที่สุดกลับคืนมาได้อีกครั้ง
ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร และมีอะไรบ้าง เรียนรู้ได้เลยที่นี่ 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล
เรียนรู้เรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่
– Website : www.think-digital.app
– Facebook : Think-Digital เรียนวิธีคิด ผ่านความฉลาดทางดิจิทัล