เพราะตัวอักษรไม่มีน้ำเสียง จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจตรงกัน

โลกดิจิทัลเชื่อมต่อเราทุกคนเข้าด้วยกัน เราอยากพูดคุยกับใครเวลาใดก็ได้ โลกแห่งการเชื่อมต่อได้ทำให้วิถีชีวิตของเราอยู่ใกล้กับทุกคนเพียงนิ้วสัมผัส แต่ต่างกันตรงที่ว่าเมื่อเราสนทนาหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในโลกความจริง เราสามารถจ้องตา รับฟังน้ำเสียง รับรู้ภาษากายรวบรวมเข้าเป็นการสื่อสารที่ทำให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้น รวมถึงความเห็นอกเห็นใจที่เราสามารถรับรู้และส่งต่อถึงกันได้

แต่โลกออนไลน์ทำอย่างนั้นไม่ได้ทั้งหมด ทั้งด้วยความเป็น “โลกเสมือน” ที่ใครก็สามารถตกแต่งหน้าบ้าน หน้าโปรไฟล์ของตนเองให้ดูดีได้ ไปจนถึงบัญชีออนไลน์ปลอมที่สวมรอย หรือเพียงต้องการเป็นใครอีกคนเพราะต้องทำอะไรก็ได้ได้ตามใจ การสื่อสารให้เข้าใจตรงกันจึงยากขึ้นเป็นเท่าทวี

  • จะสื่อสารอย่างไรดีในเมื่อทุกคนคือคนแปลกหน้าที่ไม่รู้ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่
  • จะสื่อสารอย่างไรที่เมื่ออีกฝ่ายมีท่าทีไม่สนใจจะสื่อสารด้วยมารยาทอันดีกับเรา
  • จะสื่อสารอย่างไรดีในเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดอันไม่จำเป็น?
    วันนี้มาพิจารณาแนวทางกันครับ
  • เข้าใจก่อนว่าคุยกับใคร – เรื่องแรกและเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ เรากำลังสื่อสารกับใครอยู่ คุยกับเพื่อน หรือคุยกับผู้ใหญ่ แนวทางการพูดคุยก็ต่างกัน โดยเฉพาะหากคุยบนพื้นที่ออนไลน์ ที่ใครๆก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แน่นอนว่าเราระมัดระวังวิธีการพูดมากขึ้น
  • เรียบเรียงดี มีชัยกว่าครึ่ง- เรื่องที่สอง คือการเรียบเรียงประโยคที่ต้องการสื่อสารให้เข้าใจว่าต้องการอะไร อาศัยทักษะการเขียนเป็นสำคัญโดยนอกจากเรื่องของการเรียบเรียงแล้ว ยังรวมถึงภาษาเขียนที่ควรใช้กับการสื่อสารด้วยข้อความอีกด้วย 

ภาษาเขียนถือเป็นภาษาทางการ หรือควรเป็นภาษาพื้นฐานที่ติดตัวสำหรับการติดต่อ เพราะมีความสุภาพ และตรงประเด็นอยู่ในตัว การใช้ภาษาเขียนจึงเปรียบได้กับการสื่อสารที่ถูกเรียบเรียงมาแล้วสื่อสารได้ตรง และภาษาเขียนนั้นเป็นภาษาที่มีน้ำเสียงสุภาพและให้เกียรติคู่สนทนาในตัวมันเอง การใช้ภาษาเขียนเพื่อสื่อสารยังหมายถึงการแสดงออกที่ดีที่ควรฝึกฝนให้มีความชำนาญ 

  • ใส่น้ำเสียงลงไป – จริงอยู่ที่เราอาจจะคุ้นเคยกับการส่งข้อความหรือสื่อสารกันในภาษาพูด แต่หลายครั้งที่ภาษาพูดนั้นสั้นและกระชับจนคู่สนทนาไม่อาจคาดเดาน้ำเสียง หรือบริบทได้อย่างชัดเจนและอาจถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากที่สุด

การใส่น้ำเสียงลงไปในภาษาพูดบางครั้งก็อาจสื่อความหมายในเชิงประชดประชันได้ จากประเด็นแรกที่กล่าวไปเราสามารถเพิ่มน้ำเสียงลงในภาษาเขียนสำหรับการสื่อสารในลักษระของกึ่งทางการได้ กล่าวคือ เป็นภาษาเขียนที่มีการเรียบเรียงเป็นกันเองคล้ายภาษาพูดมากขึ้น ทั้งยังมีหากเสียงเพื่อให้ผู้รับข้อความเข้าใจถึงถึงบริบทที่เราอยากสื่อสารจริงๆ 

  • ใส่ความจริงใจลงไป – สุดท้ายอาจฟังดูเป็นนามธรรมแต่ก็เป็นแนวทางที่นำไปปฏิบัติได้จริง จากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้เราสามารถใช้ภาษากึ่งทางการที่มีความสุภาพและเป็นกันเองได้ พร้อมทั้งมีน้ำเสียงลงไปอีกด้วย ส่วนสุดท้ายเรียกได้ว่าเพิ่มความน่ารัก น่าคุยลงไปในบทสนทนา ซึ่งในส่วนนี้ย่อมเป็นไปตามบริบทของแต่ละคน และแต่ละสถานการณ์

เชื่อว่าไม่มีใครอยากติดต่อสื่อสารกับคนที่พูดจาไม่น่ารักเป็นแน่ ไม่ว่าจะเป็นปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งในในชีวิตประจำวัน หรือสื่อโซเชียลทั้งที่เป็นคนรู้จักและเป็นคนแปลกหน้า ต่างก็อยากพูดคุยกันด้วยข้อความที่สุภาพกันทั้งนั้น และเพื่อหลีกเลี่ยงความอึดอัดรำคาญใจจากความเข้าใจผิด การตระหนักรู้ถึงข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยข้อความบนโลกดิจิทัล ก็เป็นพื้นฐานที่ดีที่จะต่อยอดทักษะการสื่อสารของเราให้กลายเป็นคนที่ใคร ๆ ก็อยากคุยด้วย ใครๆก็คุยกับเราแล้วมีความสุข


ทักษะความฉลาดทางดิจิทัลคืออะไร และมีอะไรบ้าง เรียนรู้ได้เลยที่นี่ 8 ทักษะพลเมืองดิจิทัล

เรียนรู้เรื่องทักษะพลเมืองดิจิทัลเพิ่มเติมได้ที่
– Website : www.think-digital.app
– Facebook : Think-Digital เรียนวิธีคิด ผ่านความฉลาดทางดิจิทัล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save